ต้นตีนเป็ด
มีชื่อทางการเรียกว่า ต้นพยาสัตบรรณ
•
ชื่อวิทยาศาสตร์ : (Alstonia scholaris (L) R.Br.)
• วงศ์ : Apocynaceae
• ชื่อสามัญ : Dita, Shaitan wood, Devil Tree
• ชื่อท้องถิ่น :
– ตีนเป็ด
– ตีนเป็ดขาว
– พญาสัตบรรณ
– หัสบรรณ หัสบัน
– จะบัน
– บะซา
– ปูลา
– ปูแล
ลักษณะของต้นตีนเป็ด
มีเปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนน้ำตาล
ประเภทใบของต้นตีนเป็ด
ใบของต้นตีนเป็ดเป็นใบเลี้ยงคู่ เมื่อผลิใบจะออกเป็นสีเขียวอ่อน และเมื่อแก่จะเป็นสีเขียวแก่จนถึงสีน้ำตาลแห้ง
ดอกของต้นตีนเป็ด
มีกลิ่นค่อนข้างฉุนบางคนก็บอกว่าเหม็น
สีของต้นตีนเป็ด
เป็นสีขาวออกเขียวนิดๆ
การกระจายพันธุ์
ต้นตีนเป็ด/เป็นพืชท้องถิ่นในเขตร้อน พบได้ในประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในทุกภาค เป็นไม้ที่ชอบความชื้นสูง ดินระบายน้ำดี พบมากบริเวณใกล้แหล่งน้ำในป่าเบญจพรรณ หรือชายป่าพรุ ไม่พบในป่าเต็งรังหรือบริเวณที่สูง (ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน, 2544)
ประโยชน์ตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ
• เป็นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
• นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล และให้ร่มเงา
• ดอกออกเป็นช่อ สวยงาม และดอกมีกลิ่นหอมแรง
• เนื้อไม้มีสีขาวอมเหลืองเหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น หีบ โต๊ะ เก้าอี้
• เนื้อไม้ใช้ทำอุปกรณ์หรือไม้ใช้สอย เช่น ไม้จิ้มฟัน ดินสอ ตะเกียบ ฝักมีด ของเล่นเด็ก หีบศพ
• เนื้อไม้มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับทำทุ่นอวน หรือทุ่นลอยเครื่องจับสัตว์น้ำบในป่าเต็งรังหรือบริเวณที่สูง (ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน, 2544)
สรรพคุณตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ
– แก้ไอ ลดไข้ ลดอาการหวัด
– รักษามาเลเรีย
– แก้ท้องเสีย
– แก้บิด
– รักษาเบาหวาน
– รักษาโรคบิด
– รักษาหลอดลมอักเสบ
– รักษาโรคลักปิดลักเปิด
– ขับระดู
– ขับพยาธิ
– ขับน้ำเหลืองเสีย
– ขับน้ำนม
• เปลือก
– ใช้ทารักษาแผล แผลติดเชื้อ เป็นหนอง
– นำมาอาบช่วยป้องกันโรคเชื้อราทางผิวหนัง
• ใบ
ใช้ต้มน้ำดื่ม
– ช่วยขับพิษต่าง ๆ
– รักษาโรคลักปิดลักเปิด
– แก้ไอ ลดไข้หวัด
• ยาง
– ใช้ทารักษาแผล แผลเน่าเปื่อย
– ผสมยาสีฟัน ลดอาการปวดฟัน
– ผสมกับน้ำมันแก้ปวดหู
– ใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะ และยาบำรุงหลังเจ็บไข้
การปลูกตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ
การเพาะต้นตีนเป็ดนิยมใช้วิธีการเพาะด้วยเมล็ด หรือใช้การปักชำ สำหรับเมล็ดที่นำมาเพาะต้องได้จากต้นที่มีลักษณะสมบูรณ์ ไม่มีรอยโรค ฝักมีลักษณะอวบใหญ่ ฝักยาวและต้องเป็นฝักแก่สีน้ำตาล เริ่มมีรอยปริแตกของฝัก เมื่อได้ฝักแล้วจะนำไปตากแดด ประมาณ 2 วัน เพื่อให้ฝักแตก สามารถแยกเอาเมล็ดออกได้ง่าย
การเพาะกล้าไม้
การเพาะสามารถเพาะลงแปลงปลูกหรือเพาะใส่ถุงเพาะชำก่อน แต่ทั่วไปนิยมเพาะในถุงเพาะชำ และดูแลให้น้ำสักระยะก่อนนำปลูก
จัดทำโดย
นางสาว พิมพ์วิไล เนตรแสงสี 4/3 เลขที่ 27
นางสาว สุรางคนา ม่วงมา 4/3 เลขที่ 32